วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

เห็ดฟาง ( ชื่อวิทยาศาสตร์ : Volvariella volvacea )
       เป็นเห็ดรับประทานได้ชนิดหนึ่ง มีการเพาะปลูกในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารเอเชียอย่างแพร่หลาย ชื่อเรียกของมันแม้แตกต่างกันไปในหลายประเทศ แต่ก็ยังมีความหมายว่า เห็ดฟาง เหมือนกัน เห็ดฟางมักพบได้ในรูปแบบสด แต่ก็สามารถพบรูปแบบบรรจุกระป๋องหรืออบแห้งจำหน่ายนอกฤดูเก็บเกี่ยวด้วย

      ลักษณะดอกเห็ดอ่อนเป็นรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยมมุมป้าน เมื่อเจริญขึ้นจะปริแตกคงเหลือเยื่อหุ้มรูปถ้วยอยู่ที่โคน ผิวนอกของเยื่อหุ้มส่วนมากจะเปลี่ยนเป็นสีขาวหม่นหรือสีเนื้อ หมวกเห็ดรูปไข่ เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4–10 เซนติเมตร กลางหมวกมีขนละเอียดสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลแดง ครีบสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน ไม่ยึดติดกับก้าน สั้นยาวไม่เท่ากัน ก้านยาว 4–10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–1 เซนติเมตร ผิวสีขาวนวลมีขนสีขาว เนื้อเป็นเส้นหยาบสีขาวรวมกันแน่น ตรงกลางก้านกลวง สปอร์รูปรี สีชมพู ขนาด 5–6 × 7–9 ไมโครเมตร ผิวเรียบ
      เห็ดฟางตามธรรมชาติเจริญเติบโตบนกองฟางข้าวเป็นกลุ่ม 2–6 ดอก และจะถูกเก็บเกี่ยวในระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่ คือยังเป็นตุ่มกลม ๆ ก่อนที่หมวกเห็ดจะผุดออกมา  ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4–5 วัน เจริญได้ผลดีที่สุดในภูมิอากาศเขตร้อนที่มีฝนตกชุก [12]


การริเริ่มเพาะเห็ดฟางก้องเตี้ย

      เป็นวิธีการเพาะที่ประยุกต์มาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงเห็ดฟาง เป็นเห็ดที่คนไทยนิยมบริโภคมานาน มีรสชาติดีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นอาหารพวกผักแต่มีคุณค่าสูงกว่าผักพบได้ตามธรรมชาติข้างกองฟางที่มีความชื้น ปัจจุบันได้นำมาเพาะเพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ซ้ำยังสามารถเพาะได้ง่ายใช้วัสดุเศษเหลือทางการเกษตรมาเพาะได้ เช่น ฟางข้าว กากเปลือกถั่ว ไส้นุ่น ต้นกล้วย ผักตบชวา ทลายปาล์ม กากเปลือกมันสำปะหลัง มีวิธีการเพาะหลายรูปแบบ เช่น การเพาะแบบกองสูงการเพาะแบบกองเตี้ยประยุกต์การเพาะในโรงเรือนการเพาะในเข่ง ในที่นี้จะแนะนำการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยโดยใช้กากมันสำปะหลังและการเพาะเห็ดโดยใช้ตอซังฟางข้าว เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้สนใจได้นำไปเพาะเพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน หรือเพาะเพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้ในครัวเรือนได้




ปัจจัยสำคัญในการเพาะเห็ดฟาง


1. สภาพอากาศ  เห็ดฟางชอบอากาศร้อน อุณหภูมิประมาณ 35 - 37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดีทั้งในฤดูฝน และฤดูร้อน ส่วนในช่วงอากาศหนาวไม่ค่อยจะดีนัก เพราะอากาศเย็นเกินไป ไม่เอื้ออำนวยในการเจริญเติบโตของดอกเห็ดฟาง ผลผลิตจะลดน้อยลง จึงทำให้ราคาเห็ดฟางสูงในฤดูหนาว

2. ความชื้น   ความชื้นเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเห็ดฟาง เพราะเป็นตัวกำหนดการเจริญของเส้นใยเห็ด ถ้าความชื้นน้อยเกินไปเส้นใยของเห็ดจะเดินช้า และรวมตัวเป็นดอกเห็ดไม่ได้ แต่ถ้าความชื้นมากเกินไปการระบายอากาศภายในกองเห็ดไม่ดี ขาดออกซิเจนจะทำให้เส้นใยเห็ดฟางฝ่อ หรือเน่าตา

3. แสงแดด  เห็ดฟางไม่ชอบแสงแดดโดยตรง ถ้าถูกแสงแดดมากเกินไปเส้นใยเห็ดอาจจะตายได้ง่าย กองเห็ดฟางหลังจากเพาะเห็ดเรียบร้อยแล้ว จึงควรจะทำการคลุมกองเห็ดด้วยผ้าพลาสติก และใช้ฟาง แห้ง หรือหญ้าคา ปิดคลุมทับอีกชั้นเพื่อพรางแสงแดด ( ดอกเห็ดฟางที่ไม่โดนแสงแดดจัด จะมีสีขาวนวลสวย ถ้าดอกเห็ดฟางโดนแสงแดดมากแล้วจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำเร็วกว่าปกติ )

4. น้ำ น้ำที่ใช้เพาะเห็ดฟาง และแช่ฟางควรเป็นน้ำสะอาด ไม่มีเกลือเจือปน หรือเค็ม หรือไม่เป็นน้ำเน่าเสีย

5. สถานที่เพาะเห็ด ควรเป็นสถานที่ที่โล่งแจ้ง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือสภาพดินบริเวณนั้นจะต้องไม่เค็ม เพราะความเค็มของดินจะทำให้เส้นใยเห็ดไม่รวมตัวกันเป็นดอกเห็ดได้ เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางเป็นการเพาะบนดิน ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมแปลงเพาะนั้นด้วย โดยเฉพาะต้องเป็นบริเวณที่ไม่มีสารฆ่าแมลง หรือสารฆ่าเชื้อรา น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดี และต้องเป็นที่ไม่เคยใช้เพาะเห็ดฟางมาก่อน ถ้าเคยเพาะเห็ดฟางมาก่อนก็ควรจะทำความสะอาดที่บริเวณนั้น โดยการขุดพลิกดินตากแดดจัด ๆ ไว้สัก 1 อาทิตย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ บนดินที่จะเป็นพาหะของโรคและแมลงต่อเชื้อเห็ดที่เราจะเพาะ


อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพราะเห็ด [8]

1.ไม้เเบบ
2.ผ้ายาง
3.เสียม
4.จอบ
5.คราด
6.ถังน้ำ
7.สายยาง
8.หน้าปัดพัดลม
9.เสื่อ
10.ขันน้ำ
11.มุ้งไนล่วน
12.บัวรดน้ำ
13.ฟางข้าว
14.ตระกร้า
15.ถังเปล่า
16.มีด
17.กากมันสำปะหลัง
18.เชื้อเห็ด

19.ไม้โครง


1.ไม้แบบขนาด 20+40+20 , 20+50+20 ซม. 20+70+20 ซม. (ผาปิดต้องมี)



2.ผ้ายาง



3.เสียม



[1]



4.จอบ






5.คราด



6.ถังน้ำ



7.สายยาง




8.หน้าปัดพัดลม



9.เสื่อ



[2]

10.ขันน้ำ



[3]



11.มุ้งไนล่วน

[4]




12.บัวรดน้ำ


13.ฟางข้าว






14.ตระกร้า



[5]




15.ถังเปล่า



16.มีด

[6]



17.กากมันสำปะหลัง




18.เชื้อเห็ด



19.ไม้โครง ( ไม้ไผ่ผ่าซีก กว้าง 1 นิ้ว ยาว 1.60 - 1.75 เมตร ตามฤดูการ )





วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเพาะเห็ดฟาง


วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะ ใช้ฟางตากแห้งสนิทซึ่งเก็บไว้โดยไม่เปียกชื้นหรือขึ้นรามาก่อน ใช้ได้ทั้งฟางข้าวเหนียว ฟางข้าวจ้าว ฟางข้าวที่นวดเอาเมล็ดออกแล้วและส่วนของตอซังเกี่ยวหรือถอนก็ใช้ได้ดี ถ้าเปรียบเทียบวัสดุที่ใช้ในการเพาะต่าง ๆ แล้วตอซังจะดีกว่าปลายฟางข้าวนวดและวัสดุอื่น ๆ มาก เนื่องจากตอซังมีอาหารมากกว่าและอุ้มน้ำได้ดีกว่าปลายฟาง

อาหารเสริม การใส่อาหารเสริมเป็นส่วนช่วยให้เส้นใยของเห็ดฟางเจริญได้ดีและทำให้ได้ดอกเห็ดมากกว่าที่ไม่ได้ใส่ถึงประมาณเท่าตัว อาหารเสริมที่นิยมใช้อยู่เป็นประจำได้แก่ ละอองข้าว ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกแห้ง ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย ผักตบชวาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วตากแห้ง จอกแห้ง และเศษพืชชิ้นเล็ก ๆ ที่นิ่มและอุ้มน้ำได้ดี เหล่านี้ก็ใช้เป็นอาหารเสริมได้เช่นกัน


วัสดุคลุมแปลงเพาะเห็ดโดยทั่วไปจะใช้ผ้าพลาสติกคลุม เป็นการควบคุมความชื้นและรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเจริญของเห็ด ถ้าเพาะในที่โล่งแจ้งให้ใช้ฟางแห้ง ทางมะพร้าวคลุมทับชั้นบน เพื่อป้องการแสงแดด

เชื้อเห็ดฟางที่จะใช้เพาะ การเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟางเพื่อให้ได้เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมกับราคามีหลักเกณฑ์การพิจารณาประกอบดังนี้ คือ
- เมื่อจับดูที่ถุงเชื้อเห็ด จะต้องมีลักษณะเป็นก้อนแน่นมีเส้นใยของเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อนแล้ว
- ไม่มีเชื้อราชนิดอื่น ๆ หรือเป็นพวกแมลง หนอน หรือตัวไร เหล่านี้เจือปนและไม่ควรจะมีน้ำอยู่ก้นถุง ซึ่งแสดงว่าชื้นเกินไป ความงอกจะไม่ดี
- ไม่มีดอกเห็ดอยู่ในถุงเชื้อเห็ดนั้น เพราะนั่นหมายความว่าเชื้อเริ่มแก่เกินไปแล้ว
- ควรผลิตจากปุ๋ยหมักของเปลือกเมล็ดบัวผสมกับขี้ม้า หรือไส้นุ่นกับขี้ม้า
- เส้นใยไม่ฟูจัดหรือละเอียดเล็กเป็นฝอยจนผิดธรรมดาลักษณะของเส้นใยควรเป็นสีขาวนวล เจริญคลุมทั่วทั้งก้อนเชื้อเห็ดนั้น
- ต้องมีกลิ่นหอมของเห็ดฟางด้วย จึงจะเป็นก้อนเชื้อเห็ดฟางที่ดี
- เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อต้องไม่ถูกแดด หรือรอการขายไว้นานจนเกินไป
- เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อมานั้น ควรจะทำการเพาะภายใน 7 วัน
- อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาใด ๆ ของผู้ขาย ควรสอบถามจากผู้ที่เคยทดลองเพาะมาก่อนจะดีกว่า นอกจากนี้ควรมีการตรวจสอบเชื้อเห็ดฟางจากหลายยี่ห้อ เชื้อเห็ดฟางยี่ห้อใดให้ผลผลิตสูงก็ควรเลือกใช้ยี่ห้อนั้นมาเพาะจะดีกว่า
- ราคาของเชื้อเห็ดฟางไม่ควรจะแพงจนเกินไป ควรสืบราคาจากเชื้อเห็ดหลาย ๆ ยี่ห้อ เพื่อเปรียบเทียบดูด้วย



สายพันธุ์เห็ดฟาง


สายพันธุ์ที่เกษตรกรเพราะปลูก

1. เห็ดฟางสายพันธุ์   3a  เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับเพาะในสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี และออกดอกเจริญเติบโตได้ดีหรือขนาดดอกที่ใหญ่กว่าสายพันธ์อื่น ออกดอกภายใน 5-7 วันหลังจากตัดใยเห็ดฟาง  รูปร่างจะคล้ายกับไข่ไก่  เกิดดอกเดี่ยว ๆ ให้ผลผลิตสูงและมีน้ำหนักมากกว่าสายพันธ์อื่น เฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม ต่อกอง ในขณะที่เห็ดฟางทั่วไปให้ผลผลิต 700-900 กรัมต่อกองเท่านั้น ดอกเห็ดที่เก็บจะมีขนาดใหญ่ลักษณะดอกจะไม่เจอดอกปานเพระสายพันธ์นี้ปานช้า แต่ข้อจำกัดของเห็ดฟางสายพันธุ์นี้คือ ตอเเรกจะไม่ค่อยได้ผลผลิตแต่จะได้ผลผลิตในตอสองมากกว่าตอหนึ่ง



                                                                             [12]
                                             
2.ห็ดฟางสายพันธุ์    สระบุรี ลักษณะประจำพันธุ์คือ สามารถเจริญได้ดี ให้ผลผลิตสม่ำเสมอในสภาพการเพาะและดูแลรักษาที่แตกต่างกันในแต่ละท้องที่ ปรับตัวเข้าสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนได้ดีทำให้สามารถเพาะได้ทุกฤดูกาล ไม่ต้องดูแลรักษามากและทนร้อนได้ดีตลอดทั้งปี ให้ผลผลิตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัมต่อกองเตี้ย ยกเว้นในฤดูฝนผลผลิตจะลดลงบ้าง

                                                                              [13]

3.เห็ดฟางสายพันธุ์    เพชรวิหาร  เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับเพาะในสภาพแวดล้อมพื้นดินกลางแจ้งได้ดี และออกดอกเจริญเติบโตได้ดี ออกดอกเร็วภายใน 9 วันหลังจากเริ่มเพาะ ดอกมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ หมวกสีเทา รูปร่างมีทั้งรูปไข่ และยอดแหลม เกิดเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม ๆ และ 4-15 ดอก ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอเฉลี่ย 700 กรัม ต่อกองในช่วงฝนตกหนัก และ1,100 กรัมต่อกองในฝนตกปานกลาง ในขณะที่เห็ดฟางทั่วไปให้ผลผลิต 200-300 กรัมต่อกองเท่านั้น คุณภาพดอกเห็ดที่เก็บได้ตรงตามความต้องการของตลาดเห็ดสด แต่ข้อจำกัดของเห็ดฟางสายพันธุ์นี้คือ ไม่เหมาะที่จะใช้เพาะในฤดูร้อนเพาะได้ผลผลิตตกต่ำ

                                                                                [14]

4.เห็ดฟางสายพันธุ์    สมใจนึก  เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับเพาะในสภาพแวดล้อมเมืองไทยปรับตัวเข้ากับสภาพการเพาะแบบพื้นดินกลางแจ้งได้ดี และออกดอกเจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน ออกดอกเร็วภายใน 9 วันหลังจากเริ่มเพาะ ดอกมีขนาดปานกลาง  และยอดแหลม เกิดเป็นกลุ่ม ๆ และ 5-15 ดอก ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอเฉลี่ย 500-700 กรัม ต่อกอง ในขณะที่เห็ดฟางทั่วไปให้ผลผลิต 300-500 กรัมต่อกองเท่านั้น คุณภาพดอกเห็ดที่เก็บได้ตรงตามความต้องการของตลาดเห็ดสด แต่ข้อจำกัดของเห็ดฟางสายพันธุ์นี้คือ ไม่เหมาะที่จะใช้เพาะในฤดูร้อนเพาะดอกเห็ดจะปานเร็วกว่าสายพันธ์อื่นทำให้ได้ราคาน้อยในการขาย



                                                                               [15]

5.เห็ดฟางสายพันธุ์    แม่โจ้  เป็นพันธุ์ใหม่ ที่ได้ปรับปรุงสายพันธ์ให้ได้ผลผลิตที่ดีกว่าสายพันอื่นๆ



[16]

ข้อเสนอเเนะ
การเลือกสายพันธ์ในหารเพราะปลูกส่วนมากเกษตรจะไม่ใช้เชื้อเห็ดเพียงสายพันธ์เดียวในการเพราะปลูกแต่จะเลือกเห็ดหลายสายพันธ์มาผสมกันในการเพราะปลูก
ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดของดอกเห็ดเกษตรกรควรที่จะนำสายพันธ์อื่นมาผสมด้วย



ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย



1. เตรียมแปลงเพาะปลูก


1.1 โดยขุดตากดินยกแปลงเพื่อฆ่าเชื้อโรคตากทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ย่อยดินให้ละเอียด ขนาดของแปลงเหมือนแปลงปลูกผัก กว้าง 1 เมตร ยาวตามความต้องการ





2. ทำการหมักฝุ่นมูลสัตว์ 

1.นำมูลสัตว์ แห้ง 8 ถุง ปุ๋ย เทลงใส่ ผ้าเต้น ผ้ากระสอบ
2. นำกากน้ำตาล 8 กิโลกรัม ละลายน้ำและรดให้ทั่ว
3.นำปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยตรากระต่าย รวมกัน 7 กิโลกรัม ละลายน้ำและรดให้ทั่ว
5.นำจอบมาคลุกให้ฝุ่นเปียกพอประมาณ และทิ้งไว้ 7 วันรวมทั้งหาที่ปิดฝุ่นให้สนิทป้องการละเหยของน้ำ (จะทำการหมักฝุ่นมูลสัตว์พร้อมกันกับการเตรียมแปลง)









3.การเหยียบกากมัน 

3.1 หลังจากเตรียมแปลงเสร็จแล้วก็ทำการรดน้ำก่อนเหยียบกากมัน






3.2 ทำการตักกากมันใส่ถัง (ขึ้นอยู่กับอากาศถ้าหน้าร้อนก็ลดปริมาณลงถ้าหน้าหนาวก็ใส่เกือบเต็มถัง)





3.3 นำกากมันมาบรรจุในไม้แบบอัดเป็นแท่งพอแน่นจากนั้นถอดไม้แบบ แล้วอัดแท่งกากมันเรียงในแปลงที่เตรียม ไว้ห่างกันแต่ละแท่ง 10-15 ซม. จะได้ 7 ก้อนต่อ 1 แปลง (ถ้าอากาศเย็นให้ห่างกันน้อยถ้าอากาศร้อนให้ห่างกันมากขึ้น ) ขณะอัดแท่งกากมัน ถ้าแห้งให้รดน้ำพอชุ่มไม่ให้แท่งพังแตก





3.4หลังจากเหยียบกากมันเสร็จได้ 1 แปลง เราก็นำดินมาโรยบนก้อนกากมันให้ทั่ว (วิธีนี้จะช่วยให้เห็ดออกข้างบนก้อนได้ตอนตอแรกของเห็ด ถ้าเราไม่ใส่เห็ดจะไม่ออกดอกข้างบนก้อนกากมันเพราะบนกากมันมีความร้อนมากแล้วจะออกดอกตอนตอสอง) ต่อไปก็ทำการรดน้ำให้เปียกและนำผ้ายางมาคลุมพร้อมรดน้ำข้างบนผ้ายางเพื่อป้องกันลมพัดผ้ายาง






4.วิธีการเตรียมเชื้อเห็ด


4.1นำเชื้อเห็ดฟางมายีให้มันแตกออกจากก้อน  มี 4 สายพันธ์ 3a,สมในนึก,เพชรวิหาร,สระบุรี





4.2 หลังจากยีเชื้อเห็ดเสร็จ แล้วก็จะนำอาหารเสริมเชื้อเห็ด(สูตรสำหรับเพราะเห็ดเฉพาะ) 1 ถุงจะผสมกับก้อนเชื้อเห็ดที่ยีแล้วได้ 32 ก้อน ,ปูนขาว 1 กิโลกรัม ต่อก้อนเห็ด 32 ก้อน ,ลำอ่อน 2 กิโลกรัม ต่อก้อนเห็ด 32 ก้อน แล้วก็ผสมให้เข้ากัน




4.2เมื่อเราผสมเชื้อเห็ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็นำเชื้อเห็ดมาชั่งให้ได้ถุงละ 1.5 กิโลกรัม  เพื่อจะนำไปหว่านในแปลงที่เราเตรียมไว้ แล้ว 1 แปลง จะใช้เชื้อเห็ด 1 ถุง








5.การเตรียมแปลงหว่านเชื้อเห็ด

5.1 นำปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 จำนวน 2 กิโลกรัม และปุ๋ยตรากระต่าย 15-15-15 จำนวน 3 กิโลกรัม นำมาผสมกันแล้วนำมาหว่านลงในแปลงตามช่องรอบๆแท่นบล็อก ปุ๋ย 5 กิโลกรัมนี้หว่านได้ทั้งหมด 40 แปลง




5.2 นำปุ๋ยอินทรีย์ 1 ถัง ที่เราได้หมักไว้มาหว่านทับปุ๋ยเคมีอีกรอบเพื่อเป็นการให้อาหารกับเห็ดและ
ทำการรดน้ำทั้งแปลงใช้ชุ่ม








5.3 นำเชื้อเห็ด 1.4 กิโลกรัม มาหว่านลงในแปลงเห็ดให้ทั่วและรดน้ำตามอีกลอบหนึ่งรดให้ชุ่ม
(ไม่แนะให้หว่านเชื้อเห็ดตอนมีแสงแดดร้อนจัดเพราะจะทำให้เชื้อเห็ดตายได้)






5.4 รดน้ำเสร็จก็คลุมแปลงเห็ดด้วยพลาสติกให้ชิดกองใช้พลาสติก 2 ผืนกลบชายพลาสติกด้วยดินให้สนิทแล้วจึงนำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตีและลดน้ำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แล้วปล่อยทิ้งไว้ 3 วัน






6.ขั้นตอนนี้เป็นการตัดเส้นใยก้อนเห็ด

 6.1เส้นใยเห็ดจะเดินขาวฟูในกองให้ทำการตัดใย โดยใช้น้ำสะอาดรดบางๆ พอเส้นใยขาด






6.2 นำกากน้ำตาล จำนวน 8 กิโลกรัม,ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 จำนวน 1 กิโลกรัม ,ทุ่งเศรษฐี จำนวน 2 ถุง
ถุงละ 1 กิโลกรัม ,ไบโอคิง สูตร เชื้อเดินดีออกดอกดอกไวดอกเห็ดมา 1 ขวด และ ไบโอคิง สูตร เห็ดโตไวดอกใหญ่น้ำหนักดี 1 ขวด นำอาหารเสริมเห็ดที่ได้มานำไปละลายน้ำ แล้วนำใส่บัวรดน้ำบางๆ จนทั่วทั้งแปลง ครบ 40 แปลง





6.3 เมื่อรดน้ำเสร็จก็นำไม้ไผ่มาทำเป็นโคลงเป็นรูปโค้งในแปลงแล้วคลุมแปลงเห็ดด้วยพลาสติกให้ชิดกองใช้พลาสติก 2 ผืนกลบชายพลาสติกด้วยดินให้สนิทแล้วจึงนำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตีและลดน้ำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง






6.4ปล่อยให้เชื้อเห็ดเดินใช้เวลาประมาณ 3 วัน เราก็เปิดผ้ายางพลาสติกอีกครั้งเพื่อรดน้ำให้ชุ่ม ขั้นตอนนี้เป็นการตัดเส้นใยก้อนเห็ดไม่ให้จับกันเป็นก้อน แล้วใช้ก้อนฟางมัดเป็นก้อนนำไปไว้บนหลังแปลงเห็ดฟางสามจุด มีจุดหัวแปลง จุดกลางแปลงและจุดท้ายแปลง เปิดผ้าพลาสติกเป็นสามรูยัดก้อนฟางใส่ตามรูเพื่อช่วยระบายความร้อนหรืออีกทางหนึ่งก็คือนำก้อนฟางมัดเป็นก้อนใหญ่ๆ นำมาวางขั้นขอบแปลงเพื่อเป็นการเปิดอากาศได้เช่นกัน(วิธีนี้เรียกว่าเปิดอากาศเห็ดฟาง)

6.5หลังจากเปิดอากาศเห็ดฟางใช้เวลาเพียง 5-7 วัน เห็ดฟางก็เริมเกิดเป็นสีขาวๆเหมือนกับเม็ดโฟมอีกไม่กี่วันก็สามารถเก็บผลผลิตขายได้ (สีของเห็ดจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศถ้าเห็ดถูกแสงแดดมากก็จะเป็นสีดำถ้าไม่ถูกแสงแดดเลยก็จะมีสีขาว)









7.เก็บผลผลิต 

7.1เมื่อกองฟางเพาะเห็ดไปแล้ว 5-7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้น ตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นเห็ดต่อไป เกษตรกรจะเริ่มเก็บเห็ดได้เมื่อเพาะไปแล้วประมาณ 7-10 วัน แล้วแต่ความร้อน และการที่จะเก็บเห็ดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะและฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดูหนาว เพราะความร้อน ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเห็ด นอกจากนั้นถ้าใส่อาหารเสริมด้วยแล้ว จะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็ก ๆ มากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโตหรือรอเก็บชุดหลัง เก็บดอกเห็ดขึ้นทั้งกระจุกโดยใช้มือจับ ทั้งกระจุกอย่างเบาๆ แล้วหมุนซ้ายและขวาเล็กน้อย ดึงขึ้นมาพยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน ในกรณีที่ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นหัวแป้นอยู่ ก็ควรรอไว้ได้อีกวันหนึ่งหรือครึ่งวัน แต่เมื่อดอกเห็ดมีลักษณะหัวยืดขึ้นแบบหัวพุ่ง ก็ต้องเก็บทันที มิฉะนั้นดอกเห็ดจะบานออก ทำให้ขายไม่ได้ราคา การเก็บผลผลิตขายได้ ในช่วงแรกจะสามารถเก็บเห็ดขายได้ 2-3 วัน



7.2 เก็บรอบแรกเสร็จเกษตรกรควรจะใส่ปุ๋ยยูเรียเพิ่ม รดน้ำอีกรอบ ก่อนจะปิดไว้เหมือนเดิม ปล่อยทิ้งไว้ 7 วัน สามารถเก็บเห็ดฟางได้อีกครั้งเป็นรอบที่ 2 และผลผลิตรอบนี้จะมากกว่ารอบที่ที่ผ่านมา





8.การให้น้ำแก่ดินและรดน้ำเห็ดฟาง

การคลุมกองและไม่รดน้ำไปที่กองนั้น มีหลายแห่งที่นิยมปฏิบัติอยู่ แต่ให้กองฟางได้รับความชุ่มชื้น โดยการรดน้ำลงไปที่ดิน หรือถ้ามีจำนวนมากก็ฉีดน้ำพ่น เพื่อให้น้ำลงไปเปียกที่ดิน น้ำจะระเหยจากดินออกมา แล้วถูกพลาสติกภายในเก็บเอาความชื้นเอาไว้ เป็นไอน้ำทำให้มีความชุ่มชื้นเพียงพอ ความชุ่มชื้นพอแต่การคลุมตลอดอย่างนั้น อาจจะทำให้การถ่ายเทอากาศไม่ดี เมื่อถ่ายเทอากาศไม่ดี คาร์บอนไดออกไซด์มาก ถ้าประกอบกับความร้อน ก็จะทำให้ดอกเห็ดที่เกิดภายในวันที่ 6-7 นั้น บานเร็วขึ้น(ให้น้ำตอนอากาศเย็นจะดีที่สุด)







การดูแลรักษากองเห็ดฟาง

1. เมื่อเพาะเห็ดฟางไปแล้ว ควรระวังช่วงวันที่ 1 – 3 หลังการเพาะ ถ้าภายในกองเห็ดฟางร้อนเกินไป ให้เปิดผ้าพลาสติก เพื่อระบายความร้อน ที่ร้อนจัดเกินไป และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าดูแลให้ดีก็จะเก็บเห็ดวันที่
8 – 10 โดยไม่ต้องรดน้ำ

2. หมั่นตรวจดูความร้อนในกองเห็ด ปกติจะรักษาอุณหภูมิในกองเห็ด โดยเปิดกองเห็ดตากลมประมาณ
5 – 10 นาที แล้วปิดตามเดิม ทุกวัน เช้าและเย็น ถ้าวันไหนอากาศร้อนจัดกองเห็ดร้อนมาก ก็เปิดชายผ้าพลาสติกนานหน่อย เพื่อระบายความร้อนในกองเห็ด

3. ตรวจสอบความชื้น ทำได้โดยดึงฟางออกจากกองเพาะเห็ด แล้วลองบิดดู ถ้าน้ำไหลออกมาเป็นสายแสดงว่าแฉะไป แต่ถ้ากองเห็ดแห้งไป เวลาบิดจะไม่มีน้ำซึมออกมาเลย




หมายเหตุ ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไป ก็ควรเพิ่มความชื้น โดยใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบา ๆ ให้ชื้น หลังจากเพาะเห็ดประมาณ 1 อาทิตย์

กรณี เริ่มมีตุ่มดอกเห็ดสีขาวเล็ก ๆ ในช่วงนี้ต้องงดการให้น้ำโดยตรงกับดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ดถูกน้ำในช่วงนี้ดอกเห็ดจะฝ่อ และเน่าเสียหาย ให้รดน้ำที่ดินรอบกองเพาะเห็ด




ศัตรูและการป้องกันกำจัด [10]

1.แมลง ได้แก่ มด ปลวก จะมาทำรังและกัดกินเชื้อเห็ด และรบกวนเวลาทำงานการป้องกันนอกจากเลือกสถานที่เพาะเห็ด ไม่ให้มีมด ปลวก แล้วอาจจะใช้ ยาฆ่าแมลงเช่น คลอเดน หรือเฮพต้าคลอร์ โรยบนดินรอบกองฟาง อย่าโรยในกองโดยตรง( และให้โรยก่อนเริ่มทำกองเพาะ 1 สัปดาห์ )อย่าโรยสารฆ่าแมลงลงบนกองฟางจะมี ผลต่อการออกดอก และมีสารพิษตกค้างในดอกเห็ด ซึ่งเป็นเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

2.สัตว์ชนิดอื่น ได้แก่ หนู คางคก กิ้งกือ และจิ้งเหลน จะมากัดกินเชื้อเห็ดและขุดคุ้ยลายแปลงเพาะบ้าง แต่ไม่มากนัก

3.เห็ดราชนิดอื่น ได้แก่ เห็ดขี้ม้า เห็ดหมึก เห็ดด้าน จะเจริญแข่งขันและแย่งอาหารเห็ดฟาง ป้องกันได้โดยใช้ฟางที่แห้งที่สะอาดยังไม่มีเชื้อราอื่นขึ้น เลือกใช้เชื้อเห็ดฟางที่ดีและดูแลรักษากองฟางให้ถุกวิธี การเก็บฟางไม่ควรให้ถูกฝนและถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นนำไปเผาไฟทิ้งเสีย


เทคนิคการเก็บเห็ดฟาง 


เมื่อเพาะเห็ดฟางไปแล้ว 5 – 7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้นตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดต่อไป และจะเริ่มเก็บดอกเห็ดได้เมื่อเพาะไปแล้วประมาณ 7 – 10 วัน แล้วแต่อุณหภูมิ การจะเก็บเห็ดไดเร็ว หรือช้า ขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะ และฤดูกาล คือฤดูร้อน และฤดูฝน จะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดู

หนาว เพราะ “ ความร้อนช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเห็ด ” และใส่อาหารเสริมด้วยแล้วจะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 1 – 2 กิโลกรัมต่อกอง

วิธีการเก็บดอกเห็ดฟาง ให้ใช้นิ้วชี้ กับหัวแม่มือกดดอกเห็ดแล้วหมุนเล็กน้อยยกขึ้นเบา ๆ ดอกเห็ดจะหลุดลงมา ในกรณีที่ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นหัวแป้นอยู่ก็ควรรอไว้ได้อีกวันหนึ่ง หรือครึ่งวัน แต่เมื่อดอกเห็ดมีลักษณะหัวยืดขึ้นแบบหัวพุ่ง ก็ต้องเก็บทันที มิฉะนั้นดอกเห็ดจะบาน ทำให้ขายไม่ได้ราคา

กรณี ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็ก ๆมากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโต หรือรอเก็บชุดหลัง “เก็บดอกเห็ดขึ้นทั้งกระจุกโดยใช้มือจับทั้งกระจุกอย่างเบา ๆหมุนซ้าย และหมุนขวา เล็กน้อย ดึงขึ้นมา พยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน’’




การตลาดเห็ดฟาง

การขายส่วนใหญ่จะทำผ่านพ่อค้าคนกลาง ช่วงที่ผลผลิตเห็ดออกสู่ตลาดมากที่สุดคือ เดือนเมษายน-พฤษภาคม และช่วงที่มีผลผลิตน้อย คือช่วงปลายเดือนธันวาคม ถึงต้นเดือนมีนาคม ซึ่งช่วงนี้ราคาเห็ดทุกชนิดจะสูงขึ้น
ผลผลิตเห็ดฟางทั้งหมดจะถูกส่งเข้า มาจากบริเวณรอบ ๆ ชานเมือง โดยเกษตรกรจะเก็บเห็ดตั้งแต่เที่ยงคืน หรืออย่างช้าตีสี่ ส่งเห็ดให้ขาประจำที่ไปรับหรือพ่อค้าท้องถิ่นราคากิโลกรัมละ 40-55 บาท พ่อค้าคนกลางจะส่งเห็ดต่อไปยังตลาดราคาขายปลีกถึงลูกค้าที่มาจ่ายตลาดประมาณกิโลกรัมละ 50-60 บาท ส่วนมากจะขายเป็นขีด ๆ ละ 5-6 บาท ตลาดจะให้ราคาเห็ดฟางสูงเมื่อดอกตูม ดอกบานราคาจะลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งหรือต่ำกว่า ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมเห็ดฟางกระป๋อง จะรับซื้อเห็ดฟางสดในราคากิโลกรัมละ15-20 บาท เพื่อบรรจุกระป๋องและคัดเอาเฉพาะดอกลักษณะดีเท่านั้น เห็ดฟางนั้นผลิตภัณฑ์ที่นิยมทำกันมีอยู่ 3 รูปแบบตามลำดับ


1. จำหน่ายเป็นเห็ดสด เห็ดฟางสดเป็นที่นิยมกันมากภายในประเทศ แต่มักจะประสบปัญหาการขนส่งที่ต้องรักษาให้เห็ดยังสดอยู่เมื่อนำออกมาจำหน่าย และปัญหาดอกเห็ดในระยะที่อากาศร้อนอบอ้าว ทำให้ราคาจำหน่ายที่ได้รับลดลง การเก็บเห็ดเพื่อจำหน่ายสดนี้เกษตรกรจะต้องเก็บเห็ดในตอนกลางคืนหรือเช้ามืด และส่งมาทันตลาดเมืองตอนเช้าให้ทันจำหน่าย ส่วนพ่อค้าเห็ดสดนิยมรักษาไว้ในห้องเย็นอุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถทำให้เห็ดชะงักการเจริญเติบโตได้ภายใน 6-8 ชั่วโมง หรือใช้วิธีง่าย ๆ คือ การใส่ภาชนะปากกว้างเช่นถาด บรรจุไม่ให้แน่นเกินไปสำหรับการจำหน่ายเห็ดสดในตลาดต่างประเทศนั้น ลักษณะการส่งออกบรรจุในถาดโฟมหุ้มด้วยพลาสติกส่งทางเครื่องบิน เมื่อถึงประเทศปลายทางก็พร้อมจะนำเข้าจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตได้ทันที

2.จำหน่ายเป็นเห็ดแห้ง เห็ดฟางแห้งเป็นผลิตผลจากการแปรรูปเห็ดสดโดยอบในตู้อบหรือตากแดด ตลาดเห็ดฟางแห้งในประเทศไม่แพร่หลายนักเพราะเห็ดสดมีให้ซื้อได้ทุกวันอยู่แล้ว แต่สำหรับตลาดต่างประเทศให้ความสนใจเห็ดฟางแห้งมาก เพราะเห็ดฟางแห้งมีกลิ่นดีกว่า นอกจากนี้เมื่อนำเห็ดฟางแห้งไปปรุงอาหารแล้วจะมีความหนืดและกรอบคล้ายเห็ดโคน เห็ดฟางที่นำมาทำแห้งควรเป็นดอกที่เพิ่งบานใหม่ ๆ จะทำให้สีและรสชาติดีกว่าดอกตูมหรือดอกแก่จนครีบใต้ดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้ว โดยปกติเห็ดสด 10-13กิโลกรัม เพื่อทำให้แห้งจะได้เห็ด 1 กิโลกรัม ในโรงงานอุตสาหกรรมนิยมนำเห็ดสดไปอบอุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส จนกระทั่งดอกเห็ดแห้งสนิทดี ทำให้ดอกเห็ดเบาและกรอบเวลาในการอบแห้งประมาณ 18-24 ชั่วโมง

3.เห็ดฟางอัดกระป๋อง  ประเทศไทยก็ได้มีการทำเห็ดฟางอัดกระป๋อง โดยนำเห็ดนั้นมาตกแต่งให้สะอาด ปอกเอาเยื่อหุ้มออก แล้วให้มีรูปทรงของดอกเห็ดที่ไม่มีเยื่อข้างบน จากนั้นจึงนำกรรมวิธีเพื่ออัดกระป๋อง อาจจะมีบ้างที่ไม่ได้เอาส่วนโคนออก แต่นำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น เช่นไปปรุงอาหารอีกแบบหนึ่ง
ในขณะนี้ได้มีการขายเห็ดแปรรูปในลักษณะของการทำต้มยำกุ้งแห้ง ซึ่งเมื่อไปถึงต่างประเทศ เขาก็จะนำกลับมาทำเปียกอีกอยางหนึ่งคือการทำต้มยำกุ้งแต่มีเห็ดมากหน่อย ก็เป็นต้มยำสำเร็จรูปอัดกระป๋องไปเลย เมื่อถึงผู้บริโภคเขาก็เพียงแต่เปิดกระป๋อง แล้วนำไปอุ่นหรือเข้าไมโครเวฟให้ร้อนในระดับที่ต้องการ หรือเดือดอีกครั้งหนึ่ง ก็นำไปเสริฟให้ลูกค้าได้



ผลตอบเเทน

ในการเพาะเห็ดฟางแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 12-17 วัน (หรือ 20 วัน ถ้าต้องการเก็บดอกเห็ดรุ่นที่ 2) ผลผลิตที่ได้ควรอยู่ระหว่าง 150 - 270 กิโลกรัม เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการเพาะแล้วก็จะได้กำไรพอสมควร


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1. ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนั้น หากมีการเพาะหลาย ๆ กองเรียงกันแล้วจะสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อที่ระหว่างกองแต่ละกองได้อีกด้วย เนื่องจากขณะรดน้ำก็จะมีธาตุอาหาร อาหารเสริม เส้นใยเห็ดที่ถูกน้ำชะไหลลงไปรวมอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างกองจึงทำให้บริเวณนั้นมีอาหารครบถ้วนต่อการเกิดดอกเห็ด และยิ่งถ้าให้ความเอาใจใส่ดูแลอย่างดี หมั่นตรวจดูความชื้น อุณหภูมิ ให้เหมาะสม ต่อการเกิดดอกด้วยแล้ว พื้นที่ระหว่างกองนั้นก็จะให้ดอกเห็ดได้อีกด้วย

2. ฟางที่จะใช้สำหรับการเพาะนั้นจะใช้ตอซัง หรือจะใช้ฟางที่ได้จากเครื่องนวดข้าวก็ได้








27 ความคิดเห็น:

  1. น่าสนใจค่ะ รายละเอียดครบถ้วนเลย

    ตอบลบ
  2. น่าสนๆได้ความรู้มากเลย

    ตอบลบ
  3. ดีมากเลย รายละเอียดครบถ้วนเลยคะ

    ตอบลบ
  4. ลุงกำลังอยากปลูกเห็ดฟางพอดีเลย...แนะนำด้วยเด้อ

    ตอบลบ
  5. ปักไว้ก่อน เดี๋ยวลองดู กระเพราหมูใส่เห็ดฟาง

    ตอบลบ
  6. ขออนุญาตแชร์นะครับ

    ตอบลบ
  7. ช่วยเพิ่มรายได้ น่าสนใจ อยากลองทำบ้างจัง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้นะครับ ยินดีให้ข้อมูลครับ

      ลบ
  8. น่าสนใจค่ะ เป็นรายได้เสริมได้ สร้างบทความดีๆขึ้นมาอีกนะค่ะ เป็นประโยชน์มากๆค่ะ

    ตอบลบ
  9. สุดยอดมากๆๆ

    ตอบลบ
  10. ละเอียดมาก นำไปปลูกได้เลย

    ตอบลบ
  11. ขอบคุณมากเลย มีประโยชน์มากเลยครับบ

    ตอบลบ
  12. น่าสนใจมากเลยครับ ขอบคุณนะครับสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์

    ตอบลบ
  13. เชื้อเห็ดฟางก้อนล่าเท่าไหร่คร่า

    ตอบลบ
  14. มี VDO การทำงานตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกมัย พี่สนใจที่จะนำมาศึกษาเพิ่ม

    ตอบลบ
  15. ถ้ามีเวลาจะลองปลูกดูซักแปลงครับ^^

    ตอบลบ
  16. ต้องขอโทษจริง ๆ ครับ ยังไม่มีครับ เพราะตอนเเรกก็ว่าจะทำอยู่นะครับ แต่ปรากฏว่า เมื่อเราไปลงพื้นที่จริง คนที่ปลูเห็ดฟางกองเตี้ยปลูกเสร็จแล้วก็เลยมีแต่การสอบถามข้อมูลขั้นตอนการปลูกเห็ดฟางกองเตี้ยเท่านั้นครับและถ้ามีโอกาสก็จะทำการถ่ายมาให้ดูครับผม

    ตอบลบ
  17. ปลูกได้ตลอดทั้งปีเลยไหมครับ ?

    ตอบลบ
  18. ตลอดปีครับ แต่ก็มีปัญหาบ้างตอนหน้าฝนครับ ต้องเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้น้ำท่วมเเปลงครับ

    ตอบลบ
  19. น่าลงทุนปลุกขายนะคะ

    ตอบลบ
  20. ไม่ระบุชื่อ1 สิงหาคม 2559 เวลา 22:32

    https://rachahed.blogspot.com/2016/07/blog-post.html ฝากด้วยครับเทคนิคเพิ่มเติม

    ตอบลบ
  21. หลังจากตัดใยเห็ดแล้ว5วัน ยังไม่เห็นเห็ดตุ่มเล็กๆขึ้นเลยเป็นเพราะอะไรค่ะ

    ตอบลบ
  22. ตอนนี้ทำเห็ดกองเตี้ยแล้วหนาวมากอยากได้คำแนะนำคะ

    ตอบลบ