วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

เห็ดฟาง ( ชื่อวิทยาศาสตร์ : Volvariella volvacea )
       เป็นเห็ดรับประทานได้ชนิดหนึ่ง มีการเพาะปลูกในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารเอเชียอย่างแพร่หลาย ชื่อเรียกของมันแม้แตกต่างกันไปในหลายประเทศ แต่ก็ยังมีความหมายว่า เห็ดฟาง เหมือนกัน เห็ดฟางมักพบได้ในรูปแบบสด แต่ก็สามารถพบรูปแบบบรรจุกระป๋องหรืออบแห้งจำหน่ายนอกฤดูเก็บเกี่ยวด้วย

      ลักษณะดอกเห็ดอ่อนเป็นรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยมมุมป้าน เมื่อเจริญขึ้นจะปริแตกคงเหลือเยื่อหุ้มรูปถ้วยอยู่ที่โคน ผิวนอกของเยื่อหุ้มส่วนมากจะเปลี่ยนเป็นสีขาวหม่นหรือสีเนื้อ หมวกเห็ดรูปไข่ เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4–10 เซนติเมตร กลางหมวกมีขนละเอียดสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลแดง ครีบสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน ไม่ยึดติดกับก้าน สั้นยาวไม่เท่ากัน ก้านยาว 4–10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–1 เซนติเมตร ผิวสีขาวนวลมีขนสีขาว เนื้อเป็นเส้นหยาบสีขาวรวมกันแน่น ตรงกลางก้านกลวง สปอร์รูปรี สีชมพู ขนาด 5–6 × 7–9 ไมโครเมตร ผิวเรียบ
      เห็ดฟางตามธรรมชาติเจริญเติบโตบนกองฟางข้าวเป็นกลุ่ม 2–6 ดอก และจะถูกเก็บเกี่ยวในระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่ คือยังเป็นตุ่มกลม ๆ ก่อนที่หมวกเห็ดจะผุดออกมา  ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4–5 วัน เจริญได้ผลดีที่สุดในภูมิอากาศเขตร้อนที่มีฝนตกชุก [12]


การริเริ่มเพาะเห็ดฟางก้องเตี้ย

      เป็นวิธีการเพาะที่ประยุกต์มาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงเห็ดฟาง เป็นเห็ดที่คนไทยนิยมบริโภคมานาน มีรสชาติดีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นอาหารพวกผักแต่มีคุณค่าสูงกว่าผักพบได้ตามธรรมชาติข้างกองฟางที่มีความชื้น ปัจจุบันได้นำมาเพาะเพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ซ้ำยังสามารถเพาะได้ง่ายใช้วัสดุเศษเหลือทางการเกษตรมาเพาะได้ เช่น ฟางข้าว กากเปลือกถั่ว ไส้นุ่น ต้นกล้วย ผักตบชวา ทลายปาล์ม กากเปลือกมันสำปะหลัง มีวิธีการเพาะหลายรูปแบบ เช่น การเพาะแบบกองสูงการเพาะแบบกองเตี้ยประยุกต์การเพาะในโรงเรือนการเพาะในเข่ง ในที่นี้จะแนะนำการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยโดยใช้กากมันสำปะหลังและการเพาะเห็ดโดยใช้ตอซังฟางข้าว เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้สนใจได้นำไปเพาะเพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน หรือเพาะเพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้ในครัวเรือนได้




ปัจจัยสำคัญในการเพาะเห็ดฟาง


1. สภาพอากาศ  เห็ดฟางชอบอากาศร้อน อุณหภูมิประมาณ 35 - 37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดีทั้งในฤดูฝน และฤดูร้อน ส่วนในช่วงอากาศหนาวไม่ค่อยจะดีนัก เพราะอากาศเย็นเกินไป ไม่เอื้ออำนวยในการเจริญเติบโตของดอกเห็ดฟาง ผลผลิตจะลดน้อยลง จึงทำให้ราคาเห็ดฟางสูงในฤดูหนาว

2. ความชื้น   ความชื้นเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเห็ดฟาง เพราะเป็นตัวกำหนดการเจริญของเส้นใยเห็ด ถ้าความชื้นน้อยเกินไปเส้นใยของเห็ดจะเดินช้า และรวมตัวเป็นดอกเห็ดไม่ได้ แต่ถ้าความชื้นมากเกินไปการระบายอากาศภายในกองเห็ดไม่ดี ขาดออกซิเจนจะทำให้เส้นใยเห็ดฟางฝ่อ หรือเน่าตา

3. แสงแดด  เห็ดฟางไม่ชอบแสงแดดโดยตรง ถ้าถูกแสงแดดมากเกินไปเส้นใยเห็ดอาจจะตายได้ง่าย กองเห็ดฟางหลังจากเพาะเห็ดเรียบร้อยแล้ว จึงควรจะทำการคลุมกองเห็ดด้วยผ้าพลาสติก และใช้ฟาง แห้ง หรือหญ้าคา ปิดคลุมทับอีกชั้นเพื่อพรางแสงแดด ( ดอกเห็ดฟางที่ไม่โดนแสงแดดจัด จะมีสีขาวนวลสวย ถ้าดอกเห็ดฟางโดนแสงแดดมากแล้วจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำเร็วกว่าปกติ )

4. น้ำ น้ำที่ใช้เพาะเห็ดฟาง และแช่ฟางควรเป็นน้ำสะอาด ไม่มีเกลือเจือปน หรือเค็ม หรือไม่เป็นน้ำเน่าเสีย

5. สถานที่เพาะเห็ด ควรเป็นสถานที่ที่โล่งแจ้ง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือสภาพดินบริเวณนั้นจะต้องไม่เค็ม เพราะความเค็มของดินจะทำให้เส้นใยเห็ดไม่รวมตัวกันเป็นดอกเห็ดได้ เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางเป็นการเพาะบนดิน ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมแปลงเพาะนั้นด้วย โดยเฉพาะต้องเป็นบริเวณที่ไม่มีสารฆ่าแมลง หรือสารฆ่าเชื้อรา น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดี และต้องเป็นที่ไม่เคยใช้เพาะเห็ดฟางมาก่อน ถ้าเคยเพาะเห็ดฟางมาก่อนก็ควรจะทำความสะอาดที่บริเวณนั้น โดยการขุดพลิกดินตากแดดจัด ๆ ไว้สัก 1 อาทิตย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ บนดินที่จะเป็นพาหะของโรคและแมลงต่อเชื้อเห็ดที่เราจะเพาะ


อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพราะเห็ด [8]

1.ไม้เเบบ
2.ผ้ายาง
3.เสียม
4.จอบ
5.คราด
6.ถังน้ำ
7.สายยาง
8.หน้าปัดพัดลม
9.เสื่อ
10.ขันน้ำ
11.มุ้งไนล่วน
12.บัวรดน้ำ
13.ฟางข้าว
14.ตระกร้า
15.ถังเปล่า
16.มีด
17.กากมันสำปะหลัง
18.เชื้อเห็ด

19.ไม้โครง


1.ไม้แบบขนาด 20+40+20 , 20+50+20 ซม. 20+70+20 ซม. (ผาปิดต้องมี)



2.ผ้ายาง



3.เสียม



[1]



4.จอบ






5.คราด



6.ถังน้ำ



7.สายยาง




8.หน้าปัดพัดลม



9.เสื่อ



[2]

10.ขันน้ำ



[3]



11.มุ้งไนล่วน

[4]




12.บัวรดน้ำ


13.ฟางข้าว






14.ตระกร้า



[5]




15.ถังเปล่า



16.มีด

[6]



17.กากมันสำปะหลัง




18.เชื้อเห็ด



19.ไม้โครง ( ไม้ไผ่ผ่าซีก กว้าง 1 นิ้ว ยาว 1.60 - 1.75 เมตร ตามฤดูการ )





วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเพาะเห็ดฟาง


วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะ ใช้ฟางตากแห้งสนิทซึ่งเก็บไว้โดยไม่เปียกชื้นหรือขึ้นรามาก่อน ใช้ได้ทั้งฟางข้าวเหนียว ฟางข้าวจ้าว ฟางข้าวที่นวดเอาเมล็ดออกแล้วและส่วนของตอซังเกี่ยวหรือถอนก็ใช้ได้ดี ถ้าเปรียบเทียบวัสดุที่ใช้ในการเพาะต่าง ๆ แล้วตอซังจะดีกว่าปลายฟางข้าวนวดและวัสดุอื่น ๆ มาก เนื่องจากตอซังมีอาหารมากกว่าและอุ้มน้ำได้ดีกว่าปลายฟาง

อาหารเสริม การใส่อาหารเสริมเป็นส่วนช่วยให้เส้นใยของเห็ดฟางเจริญได้ดีและทำให้ได้ดอกเห็ดมากกว่าที่ไม่ได้ใส่ถึงประมาณเท่าตัว อาหารเสริมที่นิยมใช้อยู่เป็นประจำได้แก่ ละอองข้าว ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกแห้ง ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย ผักตบชวาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วตากแห้ง จอกแห้ง และเศษพืชชิ้นเล็ก ๆ ที่นิ่มและอุ้มน้ำได้ดี เหล่านี้ก็ใช้เป็นอาหารเสริมได้เช่นกัน


วัสดุคลุมแปลงเพาะเห็ดโดยทั่วไปจะใช้ผ้าพลาสติกคลุม เป็นการควบคุมความชื้นและรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเจริญของเห็ด ถ้าเพาะในที่โล่งแจ้งให้ใช้ฟางแห้ง ทางมะพร้าวคลุมทับชั้นบน เพื่อป้องการแสงแดด

เชื้อเห็ดฟางที่จะใช้เพาะ การเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟางเพื่อให้ได้เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมกับราคามีหลักเกณฑ์การพิจารณาประกอบดังนี้ คือ
- เมื่อจับดูที่ถุงเชื้อเห็ด จะต้องมีลักษณะเป็นก้อนแน่นมีเส้นใยของเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อนแล้ว
- ไม่มีเชื้อราชนิดอื่น ๆ หรือเป็นพวกแมลง หนอน หรือตัวไร เหล่านี้เจือปนและไม่ควรจะมีน้ำอยู่ก้นถุง ซึ่งแสดงว่าชื้นเกินไป ความงอกจะไม่ดี
- ไม่มีดอกเห็ดอยู่ในถุงเชื้อเห็ดนั้น เพราะนั่นหมายความว่าเชื้อเริ่มแก่เกินไปแล้ว
- ควรผลิตจากปุ๋ยหมักของเปลือกเมล็ดบัวผสมกับขี้ม้า หรือไส้นุ่นกับขี้ม้า
- เส้นใยไม่ฟูจัดหรือละเอียดเล็กเป็นฝอยจนผิดธรรมดาลักษณะของเส้นใยควรเป็นสีขาวนวล เจริญคลุมทั่วทั้งก้อนเชื้อเห็ดนั้น
- ต้องมีกลิ่นหอมของเห็ดฟางด้วย จึงจะเป็นก้อนเชื้อเห็ดฟางที่ดี
- เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อต้องไม่ถูกแดด หรือรอการขายไว้นานจนเกินไป
- เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อมานั้น ควรจะทำการเพาะภายใน 7 วัน
- อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาใด ๆ ของผู้ขาย ควรสอบถามจากผู้ที่เคยทดลองเพาะมาก่อนจะดีกว่า นอกจากนี้ควรมีการตรวจสอบเชื้อเห็ดฟางจากหลายยี่ห้อ เชื้อเห็ดฟางยี่ห้อใดให้ผลผลิตสูงก็ควรเลือกใช้ยี่ห้อนั้นมาเพาะจะดีกว่า
- ราคาของเชื้อเห็ดฟางไม่ควรจะแพงจนเกินไป ควรสืบราคาจากเชื้อเห็ดหลาย ๆ ยี่ห้อ เพื่อเปรียบเทียบดูด้วย



สายพันธุ์เห็ดฟาง


สายพันธุ์ที่เกษตรกรเพราะปลูก

1. เห็ดฟางสายพันธุ์   3a  เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับเพาะในสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี และออกดอกเจริญเติบโตได้ดีหรือขนาดดอกที่ใหญ่กว่าสายพันธ์อื่น ออกดอกภายใน 5-7 วันหลังจากตัดใยเห็ดฟาง  รูปร่างจะคล้ายกับไข่ไก่  เกิดดอกเดี่ยว ๆ ให้ผลผลิตสูงและมีน้ำหนักมากกว่าสายพันธ์อื่น เฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม ต่อกอง ในขณะที่เห็ดฟางทั่วไปให้ผลผลิต 700-900 กรัมต่อกองเท่านั้น ดอกเห็ดที่เก็บจะมีขนาดใหญ่ลักษณะดอกจะไม่เจอดอกปานเพระสายพันธ์นี้ปานช้า แต่ข้อจำกัดของเห็ดฟางสายพันธุ์นี้คือ ตอเเรกจะไม่ค่อยได้ผลผลิตแต่จะได้ผลผลิตในตอสองมากกว่าตอหนึ่ง



                                                                             [12]
                                             
2.ห็ดฟางสายพันธุ์    สระบุรี ลักษณะประจำพันธุ์คือ สามารถเจริญได้ดี ให้ผลผลิตสม่ำเสมอในสภาพการเพาะและดูแลรักษาที่แตกต่างกันในแต่ละท้องที่ ปรับตัวเข้าสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนได้ดีทำให้สามารถเพาะได้ทุกฤดูกาล ไม่ต้องดูแลรักษามากและทนร้อนได้ดีตลอดทั้งปี ให้ผลผลิตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัมต่อกองเตี้ย ยกเว้นในฤดูฝนผลผลิตจะลดลงบ้าง

                                                                              [13]

3.เห็ดฟางสายพันธุ์    เพชรวิหาร  เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับเพาะในสภาพแวดล้อมพื้นดินกลางแจ้งได้ดี และออกดอกเจริญเติบโตได้ดี ออกดอกเร็วภายใน 9 วันหลังจากเริ่มเพาะ ดอกมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ หมวกสีเทา รูปร่างมีทั้งรูปไข่ และยอดแหลม เกิดเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม ๆ และ 4-15 ดอก ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอเฉลี่ย 700 กรัม ต่อกองในช่วงฝนตกหนัก และ1,100 กรัมต่อกองในฝนตกปานกลาง ในขณะที่เห็ดฟางทั่วไปให้ผลผลิต 200-300 กรัมต่อกองเท่านั้น คุณภาพดอกเห็ดที่เก็บได้ตรงตามความต้องการของตลาดเห็ดสด แต่ข้อจำกัดของเห็ดฟางสายพันธุ์นี้คือ ไม่เหมาะที่จะใช้เพาะในฤดูร้อนเพาะได้ผลผลิตตกต่ำ

                                                                                [14]

4.เห็ดฟางสายพันธุ์    สมใจนึก  เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับเพาะในสภาพแวดล้อมเมืองไทยปรับตัวเข้ากับสภาพการเพาะแบบพื้นดินกลางแจ้งได้ดี และออกดอกเจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน ออกดอกเร็วภายใน 9 วันหลังจากเริ่มเพาะ ดอกมีขนาดปานกลาง  และยอดแหลม เกิดเป็นกลุ่ม ๆ และ 5-15 ดอก ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอเฉลี่ย 500-700 กรัม ต่อกอง ในขณะที่เห็ดฟางทั่วไปให้ผลผลิต 300-500 กรัมต่อกองเท่านั้น คุณภาพดอกเห็ดที่เก็บได้ตรงตามความต้องการของตลาดเห็ดสด แต่ข้อจำกัดของเห็ดฟางสายพันธุ์นี้คือ ไม่เหมาะที่จะใช้เพาะในฤดูร้อนเพาะดอกเห็ดจะปานเร็วกว่าสายพันธ์อื่นทำให้ได้ราคาน้อยในการขาย



                                                                               [15]

5.เห็ดฟางสายพันธุ์    แม่โจ้  เป็นพันธุ์ใหม่ ที่ได้ปรับปรุงสายพันธ์ให้ได้ผลผลิตที่ดีกว่าสายพันอื่นๆ



[16]

ข้อเสนอเเนะ
การเลือกสายพันธ์ในหารเพราะปลูกส่วนมากเกษตรจะไม่ใช้เชื้อเห็ดเพียงสายพันธ์เดียวในการเพราะปลูกแต่จะเลือกเห็ดหลายสายพันธ์มาผสมกันในการเพราะปลูก
ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดของดอกเห็ดเกษตรกรควรที่จะนำสายพันธ์อื่นมาผสมด้วย



ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย



1. เตรียมแปลงเพาะปลูก


1.1 โดยขุดตากดินยกแปลงเพื่อฆ่าเชื้อโรคตากทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ย่อยดินให้ละเอียด ขนาดของแปลงเหมือนแปลงปลูกผัก กว้าง 1 เมตร ยาวตามความต้องการ





2. ทำการหมักฝุ่นมูลสัตว์ 

1.นำมูลสัตว์ แห้ง 8 ถุง ปุ๋ย เทลงใส่ ผ้าเต้น ผ้ากระสอบ
2. นำกากน้ำตาล 8 กิโลกรัม ละลายน้ำและรดให้ทั่ว
3.นำปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยตรากระต่าย รวมกัน 7 กิโลกรัม ละลายน้ำและรดให้ทั่ว
5.นำจอบมาคลุกให้ฝุ่นเปียกพอประมาณ และทิ้งไว้ 7 วันรวมทั้งหาที่ปิดฝุ่นให้สนิทป้องการละเหยของน้ำ (จะทำการหมักฝุ่นมูลสัตว์พร้อมกันกับการเตรียมแปลง)









3.การเหยียบกากมัน 

3.1 หลังจากเตรียมแปลงเสร็จแล้วก็ทำการรดน้ำก่อนเหยียบกากมัน






3.2 ทำการตักกากมันใส่ถัง (ขึ้นอยู่กับอากาศถ้าหน้าร้อนก็ลดปริมาณลงถ้าหน้าหนาวก็ใส่เกือบเต็มถัง)





3.3 นำกากมันมาบรรจุในไม้แบบอัดเป็นแท่งพอแน่นจากนั้นถอดไม้แบบ แล้วอัดแท่งกากมันเรียงในแปลงที่เตรียม ไว้ห่างกันแต่ละแท่ง 10-15 ซม. จะได้ 7 ก้อนต่อ 1 แปลง (ถ้าอากาศเย็นให้ห่างกันน้อยถ้าอากาศร้อนให้ห่างกันมากขึ้น ) ขณะอัดแท่งกากมัน ถ้าแห้งให้รดน้ำพอชุ่มไม่ให้แท่งพังแตก





3.4หลังจากเหยียบกากมันเสร็จได้ 1 แปลง เราก็นำดินมาโรยบนก้อนกากมันให้ทั่ว (วิธีนี้จะช่วยให้เห็ดออกข้างบนก้อนได้ตอนตอแรกของเห็ด ถ้าเราไม่ใส่เห็ดจะไม่ออกดอกข้างบนก้อนกากมันเพราะบนกากมันมีความร้อนมากแล้วจะออกดอกตอนตอสอง) ต่อไปก็ทำการรดน้ำให้เปียกและนำผ้ายางมาคลุมพร้อมรดน้ำข้างบนผ้ายางเพื่อป้องกันลมพัดผ้ายาง






4.วิธีการเตรียมเชื้อเห็ด


4.1นำเชื้อเห็ดฟางมายีให้มันแตกออกจากก้อน  มี 4 สายพันธ์ 3a,สมในนึก,เพชรวิหาร,สระบุรี





4.2 หลังจากยีเชื้อเห็ดเสร็จ แล้วก็จะนำอาหารเสริมเชื้อเห็ด(สูตรสำหรับเพราะเห็ดเฉพาะ) 1 ถุงจะผสมกับก้อนเชื้อเห็ดที่ยีแล้วได้ 32 ก้อน ,ปูนขาว 1 กิโลกรัม ต่อก้อนเห็ด 32 ก้อน ,ลำอ่อน 2 กิโลกรัม ต่อก้อนเห็ด 32 ก้อน แล้วก็ผสมให้เข้ากัน




4.2เมื่อเราผสมเชื้อเห็ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็นำเชื้อเห็ดมาชั่งให้ได้ถุงละ 1.5 กิโลกรัม  เพื่อจะนำไปหว่านในแปลงที่เราเตรียมไว้ แล้ว 1 แปลง จะใช้เชื้อเห็ด 1 ถุง








5.การเตรียมแปลงหว่านเชื้อเห็ด

5.1 นำปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 จำนวน 2 กิโลกรัม และปุ๋ยตรากระต่าย 15-15-15 จำนวน 3 กิโลกรัม นำมาผสมกันแล้วนำมาหว่านลงในแปลงตามช่องรอบๆแท่นบล็อก ปุ๋ย 5 กิโลกรัมนี้หว่านได้ทั้งหมด 40 แปลง




5.2 นำปุ๋ยอินทรีย์ 1 ถัง ที่เราได้หมักไว้มาหว่านทับปุ๋ยเคมีอีกรอบเพื่อเป็นการให้อาหารกับเห็ดและ
ทำการรดน้ำทั้งแปลงใช้ชุ่ม








5.3 นำเชื้อเห็ด 1.4 กิโลกรัม มาหว่านลงในแปลงเห็ดให้ทั่วและรดน้ำตามอีกลอบหนึ่งรดให้ชุ่ม
(ไม่แนะให้หว่านเชื้อเห็ดตอนมีแสงแดดร้อนจัดเพราะจะทำให้เชื้อเห็ดตายได้)






5.4 รดน้ำเสร็จก็คลุมแปลงเห็ดด้วยพลาสติกให้ชิดกองใช้พลาสติก 2 ผืนกลบชายพลาสติกด้วยดินให้สนิทแล้วจึงนำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตีและลดน้ำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แล้วปล่อยทิ้งไว้ 3 วัน






6.ขั้นตอนนี้เป็นการตัดเส้นใยก้อนเห็ด

 6.1เส้นใยเห็ดจะเดินขาวฟูในกองให้ทำการตัดใย โดยใช้น้ำสะอาดรดบางๆ พอเส้นใยขาด






6.2 นำกากน้ำตาล จำนวน 8 กิโลกรัม,ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 จำนวน 1 กิโลกรัม ,ทุ่งเศรษฐี จำนวน 2 ถุง
ถุงละ 1 กิโลกรัม ,ไบโอคิง สูตร เชื้อเดินดีออกดอกดอกไวดอกเห็ดมา 1 ขวด และ ไบโอคิง สูตร เห็ดโตไวดอกใหญ่น้ำหนักดี 1 ขวด นำอาหารเสริมเห็ดที่ได้มานำไปละลายน้ำ แล้วนำใส่บัวรดน้ำบางๆ จนทั่วทั้งแปลง ครบ 40 แปลง





6.3 เมื่อรดน้ำเสร็จก็นำไม้ไผ่มาทำเป็นโคลงเป็นรูปโค้งในแปลงแล้วคลุมแปลงเห็ดด้วยพลาสติกให้ชิดกองใช้พลาสติก 2 ผืนกลบชายพลาสติกด้วยดินให้สนิทแล้วจึงนำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตีและลดน้ำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง






6.4ปล่อยให้เชื้อเห็ดเดินใช้เวลาประมาณ 3 วัน เราก็เปิดผ้ายางพลาสติกอีกครั้งเพื่อรดน้ำให้ชุ่ม ขั้นตอนนี้เป็นการตัดเส้นใยก้อนเห็ดไม่ให้จับกันเป็นก้อน แล้วใช้ก้อนฟางมัดเป็นก้อนนำไปไว้บนหลังแปลงเห็ดฟางสามจุด มีจุดหัวแปลง จุดกลางแปลงและจุดท้ายแปลง เปิดผ้าพลาสติกเป็นสามรูยัดก้อนฟางใส่ตามรูเพื่อช่วยระบายความร้อนหรืออีกทางหนึ่งก็คือนำก้อนฟางมัดเป็นก้อนใหญ่ๆ นำมาวางขั้นขอบแปลงเพื่อเป็นการเปิดอากาศได้เช่นกัน(วิธีนี้เรียกว่าเปิดอากาศเห็ดฟาง)

6.5หลังจากเปิดอากาศเห็ดฟางใช้เวลาเพียง 5-7 วัน เห็ดฟางก็เริมเกิดเป็นสีขาวๆเหมือนกับเม็ดโฟมอีกไม่กี่วันก็สามารถเก็บผลผลิตขายได้ (สีของเห็ดจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศถ้าเห็ดถูกแสงแดดมากก็จะเป็นสีดำถ้าไม่ถูกแสงแดดเลยก็จะมีสีขาว)









7.เก็บผลผลิต 

7.1เมื่อกองฟางเพาะเห็ดไปแล้ว 5-7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้น ตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นเห็ดต่อไป เกษตรกรจะเริ่มเก็บเห็ดได้เมื่อเพาะไปแล้วประมาณ 7-10 วัน แล้วแต่ความร้อน และการที่จะเก็บเห็ดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะและฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดูหนาว เพราะความร้อน ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเห็ด นอกจากนั้นถ้าใส่อาหารเสริมด้วยแล้ว จะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็ก ๆ มากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโตหรือรอเก็บชุดหลัง เก็บดอกเห็ดขึ้นทั้งกระจุกโดยใช้มือจับ ทั้งกระจุกอย่างเบาๆ แล้วหมุนซ้ายและขวาเล็กน้อย ดึงขึ้นมาพยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน ในกรณีที่ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นหัวแป้นอยู่ ก็ควรรอไว้ได้อีกวันหนึ่งหรือครึ่งวัน แต่เมื่อดอกเห็ดมีลักษณะหัวยืดขึ้นแบบหัวพุ่ง ก็ต้องเก็บทันที มิฉะนั้นดอกเห็ดจะบานออก ทำให้ขายไม่ได้ราคา การเก็บผลผลิตขายได้ ในช่วงแรกจะสามารถเก็บเห็ดขายได้ 2-3 วัน



7.2 เก็บรอบแรกเสร็จเกษตรกรควรจะใส่ปุ๋ยยูเรียเพิ่ม รดน้ำอีกรอบ ก่อนจะปิดไว้เหมือนเดิม ปล่อยทิ้งไว้ 7 วัน สามารถเก็บเห็ดฟางได้อีกครั้งเป็นรอบที่ 2 และผลผลิตรอบนี้จะมากกว่ารอบที่ที่ผ่านมา





8.การให้น้ำแก่ดินและรดน้ำเห็ดฟาง

การคลุมกองและไม่รดน้ำไปที่กองนั้น มีหลายแห่งที่นิยมปฏิบัติอยู่ แต่ให้กองฟางได้รับความชุ่มชื้น โดยการรดน้ำลงไปที่ดิน หรือถ้ามีจำนวนมากก็ฉีดน้ำพ่น เพื่อให้น้ำลงไปเปียกที่ดิน น้ำจะระเหยจากดินออกมา แล้วถูกพลาสติกภายในเก็บเอาความชื้นเอาไว้ เป็นไอน้ำทำให้มีความชุ่มชื้นเพียงพอ ความชุ่มชื้นพอแต่การคลุมตลอดอย่างนั้น อาจจะทำให้การถ่ายเทอากาศไม่ดี เมื่อถ่ายเทอากาศไม่ดี คาร์บอนไดออกไซด์มาก ถ้าประกอบกับความร้อน ก็จะทำให้ดอกเห็ดที่เกิดภายในวันที่ 6-7 นั้น บานเร็วขึ้น(ให้น้ำตอนอากาศเย็นจะดีที่สุด)







การดูแลรักษากองเห็ดฟาง

1. เมื่อเพาะเห็ดฟางไปแล้ว ควรระวังช่วงวันที่ 1 – 3 หลังการเพาะ ถ้าภายในกองเห็ดฟางร้อนเกินไป ให้เปิดผ้าพลาสติก เพื่อระบายความร้อน ที่ร้อนจัดเกินไป และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าดูแลให้ดีก็จะเก็บเห็ดวันที่
8 – 10 โดยไม่ต้องรดน้ำ

2. หมั่นตรวจดูความร้อนในกองเห็ด ปกติจะรักษาอุณหภูมิในกองเห็ด โดยเปิดกองเห็ดตากลมประมาณ
5 – 10 นาที แล้วปิดตามเดิม ทุกวัน เช้าและเย็น ถ้าวันไหนอากาศร้อนจัดกองเห็ดร้อนมาก ก็เปิดชายผ้าพลาสติกนานหน่อย เพื่อระบายความร้อนในกองเห็ด

3. ตรวจสอบความชื้น ทำได้โดยดึงฟางออกจากกองเพาะเห็ด แล้วลองบิดดู ถ้าน้ำไหลออกมาเป็นสายแสดงว่าแฉะไป แต่ถ้ากองเห็ดแห้งไป เวลาบิดจะไม่มีน้ำซึมออกมาเลย




หมายเหตุ ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไป ก็ควรเพิ่มความชื้น โดยใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบา ๆ ให้ชื้น หลังจากเพาะเห็ดประมาณ 1 อาทิตย์

กรณี เริ่มมีตุ่มดอกเห็ดสีขาวเล็ก ๆ ในช่วงนี้ต้องงดการให้น้ำโดยตรงกับดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ดถูกน้ำในช่วงนี้ดอกเห็ดจะฝ่อ และเน่าเสียหาย ให้รดน้ำที่ดินรอบกองเพาะเห็ด




ศัตรูและการป้องกันกำจัด [10]

1.แมลง ได้แก่ มด ปลวก จะมาทำรังและกัดกินเชื้อเห็ด และรบกวนเวลาทำงานการป้องกันนอกจากเลือกสถานที่เพาะเห็ด ไม่ให้มีมด ปลวก แล้วอาจจะใช้ ยาฆ่าแมลงเช่น คลอเดน หรือเฮพต้าคลอร์ โรยบนดินรอบกองฟาง อย่าโรยในกองโดยตรง( และให้โรยก่อนเริ่มทำกองเพาะ 1 สัปดาห์ )อย่าโรยสารฆ่าแมลงลงบนกองฟางจะมี ผลต่อการออกดอก และมีสารพิษตกค้างในดอกเห็ด ซึ่งเป็นเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

2.สัตว์ชนิดอื่น ได้แก่ หนู คางคก กิ้งกือ และจิ้งเหลน จะมากัดกินเชื้อเห็ดและขุดคุ้ยลายแปลงเพาะบ้าง แต่ไม่มากนัก

3.เห็ดราชนิดอื่น ได้แก่ เห็ดขี้ม้า เห็ดหมึก เห็ดด้าน จะเจริญแข่งขันและแย่งอาหารเห็ดฟาง ป้องกันได้โดยใช้ฟางที่แห้งที่สะอาดยังไม่มีเชื้อราอื่นขึ้น เลือกใช้เชื้อเห็ดฟางที่ดีและดูแลรักษากองฟางให้ถุกวิธี การเก็บฟางไม่ควรให้ถูกฝนและถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นนำไปเผาไฟทิ้งเสีย


เทคนิคการเก็บเห็ดฟาง 


เมื่อเพาะเห็ดฟางไปแล้ว 5 – 7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้นตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดต่อไป และจะเริ่มเก็บดอกเห็ดได้เมื่อเพาะไปแล้วประมาณ 7 – 10 วัน แล้วแต่อุณหภูมิ การจะเก็บเห็ดไดเร็ว หรือช้า ขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะ และฤดูกาล คือฤดูร้อน และฤดูฝน จะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดู

หนาว เพราะ “ ความร้อนช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเห็ด ” และใส่อาหารเสริมด้วยแล้วจะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 1 – 2 กิโลกรัมต่อกอง

วิธีการเก็บดอกเห็ดฟาง ให้ใช้นิ้วชี้ กับหัวแม่มือกดดอกเห็ดแล้วหมุนเล็กน้อยยกขึ้นเบา ๆ ดอกเห็ดจะหลุดลงมา ในกรณีที่ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นหัวแป้นอยู่ก็ควรรอไว้ได้อีกวันหนึ่ง หรือครึ่งวัน แต่เมื่อดอกเห็ดมีลักษณะหัวยืดขึ้นแบบหัวพุ่ง ก็ต้องเก็บทันที มิฉะนั้นดอกเห็ดจะบาน ทำให้ขายไม่ได้ราคา

กรณี ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็ก ๆมากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโต หรือรอเก็บชุดหลัง “เก็บดอกเห็ดขึ้นทั้งกระจุกโดยใช้มือจับทั้งกระจุกอย่างเบา ๆหมุนซ้าย และหมุนขวา เล็กน้อย ดึงขึ้นมา พยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน’’




การตลาดเห็ดฟาง

การขายส่วนใหญ่จะทำผ่านพ่อค้าคนกลาง ช่วงที่ผลผลิตเห็ดออกสู่ตลาดมากที่สุดคือ เดือนเมษายน-พฤษภาคม และช่วงที่มีผลผลิตน้อย คือช่วงปลายเดือนธันวาคม ถึงต้นเดือนมีนาคม ซึ่งช่วงนี้ราคาเห็ดทุกชนิดจะสูงขึ้น
ผลผลิตเห็ดฟางทั้งหมดจะถูกส่งเข้า มาจากบริเวณรอบ ๆ ชานเมือง โดยเกษตรกรจะเก็บเห็ดตั้งแต่เที่ยงคืน หรืออย่างช้าตีสี่ ส่งเห็ดให้ขาประจำที่ไปรับหรือพ่อค้าท้องถิ่นราคากิโลกรัมละ 40-55 บาท พ่อค้าคนกลางจะส่งเห็ดต่อไปยังตลาดราคาขายปลีกถึงลูกค้าที่มาจ่ายตลาดประมาณกิโลกรัมละ 50-60 บาท ส่วนมากจะขายเป็นขีด ๆ ละ 5-6 บาท ตลาดจะให้ราคาเห็ดฟางสูงเมื่อดอกตูม ดอกบานราคาจะลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งหรือต่ำกว่า ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมเห็ดฟางกระป๋อง จะรับซื้อเห็ดฟางสดในราคากิโลกรัมละ15-20 บาท เพื่อบรรจุกระป๋องและคัดเอาเฉพาะดอกลักษณะดีเท่านั้น เห็ดฟางนั้นผลิตภัณฑ์ที่นิยมทำกันมีอยู่ 3 รูปแบบตามลำดับ


1. จำหน่ายเป็นเห็ดสด เห็ดฟางสดเป็นที่นิยมกันมากภายในประเทศ แต่มักจะประสบปัญหาการขนส่งที่ต้องรักษาให้เห็ดยังสดอยู่เมื่อนำออกมาจำหน่าย และปัญหาดอกเห็ดในระยะที่อากาศร้อนอบอ้าว ทำให้ราคาจำหน่ายที่ได้รับลดลง การเก็บเห็ดเพื่อจำหน่ายสดนี้เกษตรกรจะต้องเก็บเห็ดในตอนกลางคืนหรือเช้ามืด และส่งมาทันตลาดเมืองตอนเช้าให้ทันจำหน่าย ส่วนพ่อค้าเห็ดสดนิยมรักษาไว้ในห้องเย็นอุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถทำให้เห็ดชะงักการเจริญเติบโตได้ภายใน 6-8 ชั่วโมง หรือใช้วิธีง่าย ๆ คือ การใส่ภาชนะปากกว้างเช่นถาด บรรจุไม่ให้แน่นเกินไปสำหรับการจำหน่ายเห็ดสดในตลาดต่างประเทศนั้น ลักษณะการส่งออกบรรจุในถาดโฟมหุ้มด้วยพลาสติกส่งทางเครื่องบิน เมื่อถึงประเทศปลายทางก็พร้อมจะนำเข้าจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตได้ทันที

2.จำหน่ายเป็นเห็ดแห้ง เห็ดฟางแห้งเป็นผลิตผลจากการแปรรูปเห็ดสดโดยอบในตู้อบหรือตากแดด ตลาดเห็ดฟางแห้งในประเทศไม่แพร่หลายนักเพราะเห็ดสดมีให้ซื้อได้ทุกวันอยู่แล้ว แต่สำหรับตลาดต่างประเทศให้ความสนใจเห็ดฟางแห้งมาก เพราะเห็ดฟางแห้งมีกลิ่นดีกว่า นอกจากนี้เมื่อนำเห็ดฟางแห้งไปปรุงอาหารแล้วจะมีความหนืดและกรอบคล้ายเห็ดโคน เห็ดฟางที่นำมาทำแห้งควรเป็นดอกที่เพิ่งบานใหม่ ๆ จะทำให้สีและรสชาติดีกว่าดอกตูมหรือดอกแก่จนครีบใต้ดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้ว โดยปกติเห็ดสด 10-13กิโลกรัม เพื่อทำให้แห้งจะได้เห็ด 1 กิโลกรัม ในโรงงานอุตสาหกรรมนิยมนำเห็ดสดไปอบอุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส จนกระทั่งดอกเห็ดแห้งสนิทดี ทำให้ดอกเห็ดเบาและกรอบเวลาในการอบแห้งประมาณ 18-24 ชั่วโมง

3.เห็ดฟางอัดกระป๋อง  ประเทศไทยก็ได้มีการทำเห็ดฟางอัดกระป๋อง โดยนำเห็ดนั้นมาตกแต่งให้สะอาด ปอกเอาเยื่อหุ้มออก แล้วให้มีรูปทรงของดอกเห็ดที่ไม่มีเยื่อข้างบน จากนั้นจึงนำกรรมวิธีเพื่ออัดกระป๋อง อาจจะมีบ้างที่ไม่ได้เอาส่วนโคนออก แต่นำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น เช่นไปปรุงอาหารอีกแบบหนึ่ง
ในขณะนี้ได้มีการขายเห็ดแปรรูปในลักษณะของการทำต้มยำกุ้งแห้ง ซึ่งเมื่อไปถึงต่างประเทศ เขาก็จะนำกลับมาทำเปียกอีกอยางหนึ่งคือการทำต้มยำกุ้งแต่มีเห็ดมากหน่อย ก็เป็นต้มยำสำเร็จรูปอัดกระป๋องไปเลย เมื่อถึงผู้บริโภคเขาก็เพียงแต่เปิดกระป๋อง แล้วนำไปอุ่นหรือเข้าไมโครเวฟให้ร้อนในระดับที่ต้องการ หรือเดือดอีกครั้งหนึ่ง ก็นำไปเสริฟให้ลูกค้าได้



ผลตอบเเทน

ในการเพาะเห็ดฟางแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 12-17 วัน (หรือ 20 วัน ถ้าต้องการเก็บดอกเห็ดรุ่นที่ 2) ผลผลิตที่ได้ควรอยู่ระหว่าง 150 - 270 กิโลกรัม เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการเพาะแล้วก็จะได้กำไรพอสมควร


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1. ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนั้น หากมีการเพาะหลาย ๆ กองเรียงกันแล้วจะสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อที่ระหว่างกองแต่ละกองได้อีกด้วย เนื่องจากขณะรดน้ำก็จะมีธาตุอาหาร อาหารเสริม เส้นใยเห็ดที่ถูกน้ำชะไหลลงไปรวมอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างกองจึงทำให้บริเวณนั้นมีอาหารครบถ้วนต่อการเกิดดอกเห็ด และยิ่งถ้าให้ความเอาใจใส่ดูแลอย่างดี หมั่นตรวจดูความชื้น อุณหภูมิ ให้เหมาะสม ต่อการเกิดดอกด้วยแล้ว พื้นที่ระหว่างกองนั้นก็จะให้ดอกเห็ดได้อีกด้วย

2. ฟางที่จะใช้สำหรับการเพาะนั้นจะใช้ตอซัง หรือจะใช้ฟางที่ได้จากเครื่องนวดข้าวก็ได้